สำหรับการเรียนภาษาเยอรมันนั้น สิ่งที่ดิฉันเห็นว่าง่ายที่สุดในบรรดาทั้งปวงก็คือ ตัวเลขนี่แหละค่ะ นับไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องคิดไรมากมาย ไม่ต้องห่วงกับ Artikel เท่าไหร่นัก ถ้านับ 1-10 ได้ ต่อไปจะนับถึง พันล้านก็ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ มาดูกันเลย
จำนวนนับ
0 null (นุลลฺ)
1 eins (ไอนสฺ)
2 zwei (ซไว)
3 drei (ไตร)
4 vier (เฟียรฺ)
5 fünf (ฟุนฺฟ)
6 sechs (เซคสฺ)
7 sieben (ซีเบน)
8 acht (อัคทฺ)
9 neun (นอยนฺ)
10 zehn (เซน)
11 elf (เอ็ลฟฺ)
12 zwölf (ซโวลสฺ)
13 dreizehn (ไตรเซน)
14 vierzehn (เฟียรฺเซน)
15 fünfzehn (ฟุนฺฟเซน)
16 sechzehn (เซคเซน)
17 siebzehn (ซีบเซน)
18 achtzehn (อัคทฺเซน)
19 neunzehn (นอยนฺเซน)
20 zwanzig (ซวานซิก)
21 einundzwanzig (ไอนฺ อุนดฺ ซวานซิก)
22 zweiundzwanzig (ซไว อุนดฺ ซวานซิก)
23 dreiundzwanzig (ไตร อุนดฺ ซวานซิก)
24 vierundzwanzig (เฟียรฺ อุนดฺ ซวานซิก)
25 fünfundzwanzig (ฟุนฺฟ อุนดฺ ซวานซิก)
26 sechsundzwanzig (เซคสฺ อุนดฺ ซวานซิก)
27 siebenundzwanzig (ซีเบน อุนดฺ ซวานซิก)
28 achtundzwanzig (อัคทฺ อุนดฺ ซวานซิก)
29 neunundzwanzig (นอยนฺ อุนดฺ ซวานซิก
30 dreißig (ไตรซิก)
ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ หลักการง่าย ๆ คือ เลข 0-12 เราต้องท่องจำเป็นตัว ๆ ไปค่ะ ส่วน 13-19 จะลงท้ายด้วย -zehn วิธีการนับของชาวเยอรมันก็คือเอาหลักหน่วยมานับก่อนจากนั้นตามด้วยหลักสิบ เช่น
13 = 3 + 10 = dreizehn
14 = 4 + 10 = vierzehn
15 = 5 + 10 = fünfzehn
16 = 6 + 10 = sechzehn (ไม่มี s)
...
20 ก็เช่นเดียวกันค่ะ ตัวอย่าง
21 = 1 + 20 = einundzwanzig (ไม่มี s)
22 = 2 + 20 = zweiundzwanzig
23 = 3 + 20 = dreiund zwanzig
...
28 = 8 + 20 = achtundzwanzig
29 = 9 + 20 = neunundzwanzig
ที่นี้พอจะนึกออกไหมคะว่าเค้านับกันยังไง จากนี้ไป 30, 40, 50, ..., 90 ก็มีหลักเช่นเดียวกันกับตัวอย่างล่ะค่ะ บทต่อไปเราจะมาเรียนตัวเลขในหลักสิบทั้งหมด รวมทั้งหลักอื่น ๆ ด้วยค่ะ
Friday, March 28, 2008
มาลองนับเลขกัน 1-30
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment